ประวัติความเป็นมาของขนมเบื้อง

             
    






ที่มาของขนมเบื้อง นั้นเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของกุลสตรีไทยในสมัยโบราญ คือการละเลงแป้งขนมเบื้องให้สวยงาม ดังที่ปรากฎในเรื่องขุนช้างขุนแผนที่นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้าละเลงขนมเบื้องเปรียบเที่ยบฝีมือกัน และยังมีคำพังเพยกล่าวถึงคนที่ช่างติ ชอบตำนิ คนที่ดีแต่พูด ว่า "อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก"


ประวัติในสมัยพุทธกาลน่าจะมีการทำขนมเบื้องแล้ว เพราะในหนังสือ "ธรรมบทเผด็จ" ได้กล่าวถึงเศรษฐีโกสิยะ ซึ้งเป็นคนตระหนี่ อยากกินขนมเบื้อง จึงให้ภรรยาขึ้นไปทำขนมเบื้องบนปราสาทชั้นเจ็ด เพื่อจะได้ไม่ต้องแบ่งให้ใคร พระพุทธเจ้าจึงให้พระโมคคัลลานะไปขอรับบิณฑบาตรขนมเบื้อง เศรษฐีให้ทอดขนมชื้นเล็กๆถวาย แต่ทุกครั้งที่ละเลงแป้ง แป้งจะฟูขึ้นเต็มกระทะ เมื่อเสียดายให้ทำใหม่ก็เป็นแบบเดิมทุกครั้ง สุดท้ายเศรษฐีจึงละความพยายาม ยอมถวายขนมเบื้องไป พระโมคคัลลานะจึงเทศน์เรื่องโทษของความตระหนี่ เศรษฐีและภรรยาได้บรรลุธรรมทั้งคู่และเปลี่ยนมาเป็นคนใจบุญ และในพระราชนิพนธ์ 12 เดือน ของรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงพิธีในเดือนอ้ายว่า กำหนดเลี้ยงขนมเบื้อง นี้ว่า เมื่อพระอาทิตย์สุดทางใต้ตกนิจ เป็นวันที่หยุด จะกลับขึ้นเหนืออยู่ในองศา 8 องศา 9 ในราศีธนู เป็นถึงกำหนดเลี้ยงขนม กำหนดพระสงฆ์ตั้งแต่เจ้าพระ พระราชาคณะ 80 รูป ฉันในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ขนมเบื้องนั้นเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายใน ท้าวนาง เจ้าจอมมารดา เถ้าแก่ พนักงานคาดปะรำ ตั้งเตาละเลงข้างท้องพระโรง
    
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ขนมเบื้อง ได้อนุญาตให้ใช้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น